Monday, 6 May 2024
THE STUDY TIMES

เข้ารอบ Final Pitching  โครงการ Content Lab โปรแกรม “ดิจิทัลคอนเทนต์”

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ประกาศรายชื่อ 7 ทีม ผ่านเข้ารอบ Final Pitching โครงการ Content Lab สร้างสรรค์คอนเทนต์ไทย ดันไกลสู่สากล ในโปรแกรม “ดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Content)” สนับสนุนรวมกว่า 150,000 บาท/ทีม และเงินรางวัลสำหรับทีมที่ชนะในรอบ Final Pitching มูลค่ารวม 150,000 บาท พร้อมเปิดโอกาสนำเสนอโครงการให้กับผู้เชี่ยวชาญ และองค์กรชั้นนำของเมืองไทย หวังต่อยอด สร้างสรรค์ และ ประชาสัมพันธ์ผลงานในระดับสากล
นายชาญ กุลภัทรนิรันดร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่พัฒนาธุรกิจใหม่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า...

ปตท. ได้ปรับการดำเนินงานให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน โดยมุ่งสร้างความมั่นคงทางพลังงาน ควบคู่กับการต่อยอดธุรกิจใหม่ที่นอกเหนือจากด้านพลังงาน พร้อมเป็นแรงสำคัญขับเคลื่อนอุตสาหกรรมของประเทศ โดยได้มีการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ทั้งภาครัฐและเอกชนเล็งเห็นถึงโอกาสและศักยภาพที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย

ทั้งนี้ ปตท. ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ในการเปิดคอร์สอบรมพัฒนาทักษะ สำหรับนักสร้างสรรค์คอนเทนต์ ภายใต้ “โครงการ Content Lab สร้างสรรค์คอนเทนต์ไทย ดันไกลสู่สากล” ในโปรแกรมดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Content) สำหรับนักสร้างสรรค์คอนเทนต์ นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไป ได้มีโอกาสเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีประกอบการสร้างสรรค์ผลงาน พร้อมเรียนรู้ทักษะการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างเข้มข้นจากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา ทั้ง Virtual Production, AR/XR, AR location base, CG, 3D Model ฯลฯ

ผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 13 ทีม ได้นำความรู้และประสบการณ์มานำเสนอ Proposal ครั้งที่ 1 ภายใต้หัวข้อ “Meaningful Travel” ส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยพร้อมสร้างประสบการณ์ใหม่  แบ่งเป็น 3 หมวด ได้แก่ หมวด Location Base & Platform หมวด Game และหมวด Film & Advertising
.
ทั้งนี้ มีการคัดเลือก 7 ทีม ผ่านเข้ารอบการนำเสนอสุดท้าย (Final Pitching Day) ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับการสนับสนุนการผลิตชิ้นงาน จาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เพื่อเตรียมนำเสนอผลงานสุดท้ายต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ และตัวแทนจากองค์กรชั้นนำของเมืองไทยในวัน Final Product Pitching  วันที่ 26 สิงหาคมนี้ โดยจะมีคัดเลือกผลงานสุดท้ายที่จะได้รับเงินรางวัล พร้อมการประชาสัมพันธ์สู่สาธารณะ หวังต่อยอดและสร้างสรรค์ผลงานในระดับสากล ซึ่งถือเป็นซอฟท์พาวเวอร์ (Soft Power) ที่สำคัญ ให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่มีคุณค่าควบคู่กับการสร้างมาตรฐานความยั่งยืน

ทีมที่ผ่านการเข้ารอบ ได้แก่
• หมวด Location Base & Platform  
1. ทีมที่ 6 Travel Platform & Virtual Influencer 
2. ทีมที่ 11 Thailand Culture Guide (สายมู) 
3. ทีมที่ 14 Foodscape

• หมวด Game 
1. ทีมที่ 8 Muay Thai VR Game 
2. ทีมที่ 10 Survive the Streets

• หมวด Film & Advertising 
1. ทีมที่ 1 Thatien 
2. ทีมที่ 3 One free day

ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook : Content Lab และ Creative Economy Agency

'Arun Plus' ผนึก 'CATL' ตั้งโรงงานแบตเตอรี่ EV ในไทย  ดันไทยสู่ผู้นำอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าครบวงจรในอาเซียน

(9 มิ.ย. 66) Arun Plus – CATL บรรลุข้อตกลงร่วมจัดตั้งโรงงานประกอบแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนแบบ Cell-To-Pack (CTP) ในประเทศไทย พร้อมเดินหน้าผลิตแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภทด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง เพื่อเสริมศักยภาพด้านการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย ภายใต้กรอบการลงทุนกว่า 3,600 ล้านบาท โดยโรงงานดังกล่าวจะพร้อมเดินสายการผลิตภายในปี 2567 ด้วยกำลังการผลิต 6 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี

นายเอกชัย ยิ้มสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท อรุณ พลัส จำกัด (Arun Plus) พร้อมด้วย Mr. Ni Zheng, Executive president of overseas car business, and CEO of Japan & Korea affiliate, Contemporary Amperex Technology Co., Ltd (CATL) ลงนามสัญญาร่วมจัดตั้งโรงงานแบตเตอรี่ Cell-To-Pack (CTP) ภายในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการผลิตแบตเตอรี่ขั้นสูงที่นำเซลล์แบตเตอรี่มาประกอบกันเป็นแพ็กโดยตรง ไม่ต้องผ่านขั้นตอนการประกอบเป็นโมดูล ทำให้แบตเตอรี่มีประสิทธิภาพความจุพลังงานสูงขึ้น น้ำหนักเบา และมีความปลอดภัยสูง เป็นการตอกย้ำความเชื่อมั่นของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางการผลิต EV ของภูมิภาคอาเซียนในอนาคต ภายใต้ความร่วมมือกับ CATL ผู้นำในระดับสากลด้านเทคโนโลยีแบตเตอรี่ EV โดยพิธีลงนามฯ จัดขึ้นที่งาน Shanghai International Automobile Industry Exhibition สาธารณรัฐประชาชนจีน

นายเอกชัย ยิ้มสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท อรุณ พลัส จำกัด กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่าง Arun Plus กับ CATL ในครั้งนี้เป็นก้าวแรกที่สำคัญของการดำเนินธุรกิจแบตเตอรี่อย่างครบวงจรในอนาคต ด้วย CATL เป็นบริษัทที่มีการดำเนินธุรกิจแบตเตอรี่ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Battery Value chain) ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การผลิตแบตเตอรี่ ไปจนถึงการรีไซเคิลแบตเตอรี่ ตลอดจนธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้ง Arun Plus มุ่งมั่นที่จะสร้างความพร้อมในด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการขยายระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศ โดยได้ร่วมกับ Honhai Precision Industry Co., Ltd หรือ FOXCONN ก่อตั้งบริษัท ฮอริษอน พลัส จํากัด (Horizon Plus) เพื่อดำเนินการผลิต EV รองรับความต้องการที่สูงขึ้นทั้งภายในประเทศและในภูมิภาคอาเซียน โดยจะเริ่มเดินสายการผลิตในปี 2567 ด้วยกำลังการผลิตเริ่มต้นที่ 50,000 คันต่อปี และจะเพิ่มเป็น 150,000 คันในปี 2573

ซึ่งการก่อตั้งโรงงานแบตเตอรี่ CTP ในครั้งนี้ จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กับ โรงงานผลิต EV ดังกล่าว และในอนาคต Arun Plus ยังศึกษาความเป็นไปได้ในการร่วมมือกับ CATL เพื่อนำเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับแบตเตอรี่ของ CATL มาใช้ในประเทศ อาทิ เทคโนโลยีสลับแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า (Battery Swapping) เทคโนโลยีการรีไซเคิลแบตเตอรี่ (Battery Recycling) เทคโนโลยีแพลตฟอร์มรถยนต์ไฟฟ้าของ CATL (CATL Integrated Intelligent Chassis : CIIC) พร้อมทั้งจะศึกษาแนวทางในการเป็นผู้ผลิตเซลล์แบตเตอรี่ในอนาคต

ความร่วมมือในการจัดตั้งโรงงานประกอบแบตเตอรี่ CTP นี้ นอกจากจะช่วยเสริมศักยภาพด้านการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของกลุ่ม Arun Plus แล้ว ยังเป็นการสนับสนุนเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน และสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับประเทศไทยต่อไป

‘6.6.66’ on-ion ผนึก Sand Haus เปิดให้บริการสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบ DC fast charger

ออน-ไอออน (on-ion) ภายใต้บริษัท อรุณ พลัส จำกัด (ARUN PLUS) รุกขยายเครือข่ายสถานีอัดประจุสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (on-ion EV Charging Station) ให้แข็งแกร่งและครอบคลุมมากขึ้น ณ โครงการแซนด์เฮาส์ เหม่งจ๋าย (Sand Haus) เพื่อรองรับการเติบโตของตลาด EV ให้พลังงานทางเลือกอยู่ใกล้ตัวกว่าที่คิด พร้อมสนับสนุนให้คนไทยใช้พลังงานสะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยเครื่องอัดประจุไฟฟ้าชนิดกระแสสลับ (AC normal charger) และชนิดกระแสตรง (DC fast charger) โดยพร้อมเปิดให้บริการ 6 มิถุนายน 2566 นี้

นายเชิดชัย บุญชูช่วย รองกรรมการผู้จัดการใหญ่นวัตกรรมและธุรกิจใหม่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า กลุ่ม ปตท. โดยบริษัท อรุณ พลัส จำกัด (ARUN PLUS) ได้เดินหน้าตามภารกิจในการขยายฐานธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าครบวงจร เพื่อร่วมสร้างระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นในทุกมิติ โดยเฉพาะการขยายเครือข่ายสถานีชาร์จภายใต้แบรนด์ ออน- ไอออน (on-ion EV Charging Station) บนทำเลศักยภาพร่วมกับ “Sand Haus” คอมมิวนิตี้มอลล์แห่งใหม่ย่านเหม่งจ๋าย– ประชาอุทิศ ที่เดียวจบครบ ร้านของกิน คาเฟ่ คลินิก สถาบันเสริมพัฒนาการเด็ก และคอร์ดแบดขนาดใหญ่ เพื่อขับเคลื่อนสังคมคาร์บอนต่ำ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเพิ่มความสะดวกสบายให้ผู้ใช้ EV ด้วยพลังงานสะอาด

นางสาวนันทนัช ครองมงคลกุล ผู้บริหารโครงการแซนด์เฮาส์ กล่าวว่า การร่วมมือกับออน-ไอออนในครั้งนี้จะเป็นการขยายเครือข่ายสถานีชาร์จให้ครอบคลุมและตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ EV มากยิ่งขึ้น สำหรับสถานี Sand Haus แห่งนี้ เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่ 06.00 – 24.00 น. ให้บริการด้วยเครื่อง DC fast charger ขนาดกำลังไฟ 100 กิโลวัตต์ จำนวน 2 ช่องจอด สำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV: Battery Electric Vehicle) ทุกรุ่น ทุกแบรนด์ที่รองรับหัวชาร์จ CCS2 และให้บริการด้วยเครื่อง AC normal charger ขนาดกำลังไฟ 22 กิโลวัตต์ จำนวน 3 ช่องจอด รองรับรถยนต์ปลั๊ก-อิน ไฮบริด (PHEV : Plug-in Hybrid) และรถยนต์พลังงานไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV: Battery Electric Vehicle) ทุกรุ่น ทุกแบรนด์ที่มีหัวชาร์จ Type 2 ควบคุมการใช้งานผ่าน on-ion Mobile Application ทั้งในระบบ Android และ iOS

on-ion และ Sand Haus พร้อมส่งเสริมการใช้ EV อย่างเต็มรูปแบบ โดยมอบโปรโมชัน “ช้อป ช่วย ชาร์จ” ให้แก่ลูกค้าที่ใช้จ่ายในโครงการ Sand Haus เหม่งจ๋าย ครบ 500 บาทต่อวัน (รวมใบเสร็จได้) สามารถนำใบเสร็จมาแลกคูปองส่วนลดค่าบริการชาร์จ EV มูลค่าไม่เกิน 60 บาท ตั้งแต่วันนี้ – 31 สิงหาคม 2566 หรือจนกว่าจะครบจำนวนสิทธิ์ นอกจากนี้ ยังมอบสิทธิพิเศษสำหรับวันเปิดตัววันแรก “6.6.66” เป็นส่วนลดค่าบริการชาร์จ EV พิเศษเพียง 6 บาทต่อหน่วยสำหรับ DC fast charger ในวันที่ 6 มิถุนายน 2566 วันเดียวเท่านั้น! (จากค่าบริการปกติ 9.5 บาทต่อหน่วย) เพิ่มเติมได้ที่ Call Center: 02-017-0022 หรือ Line: @onionev

ไฟยังไหม้ ที่เชียงใหม่ บริเวณ ตำบลยั้งเมิน - ตำบลแม่สาบ อ.สะเมิง

ไฟไหม้ 2 จุด คือพื้นที่ตำบลยั้งเมิน และตำบลแม่สาบ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ จิตอาสาวัดพระบรมธาตุดอยผาส้ม และชาวบ้านร่วมกับเจ้าหน้าที่หน่วยอุทยานฯ นำกำลังเข้าไปดับ แต่ยังไม่สามารถควบคุมได้ทั้งหมด

ทหารประตูผา ลดไฟป่า

เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา ร.อ.พิภพ วงค์ษา รองผู้บังคับกองร้อยฝึกรบพิเศษที่ 3 รักษาราชการแทน ผู้บังคับกองร้อยฝึกรบพิเศษที่ 3 ค่ายประตูผา จังหวัดลำปาง มอบหมายให้ชุดทำงานด้านประชาสัมพันธ์ของหน่วย, จิตอาสาพระราชทาน และชุดปฏิบัติการกิจการพลเรือนมณฑลทหารบกที่ 32 ประจำอำเภอ ชุดที่ 5 ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้การป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าหมอกควันในภาคเหนือกับค่า PM 2.5 ณ ศาลเจ้าพ่อประตูผา และ บ้านขุนแม่หวด อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง

.

ภาวินันท์ บุตรหล้า รายงาน

.

#นอร์ทไทม์

สวยงามอลังการ!! นักท่องเที่ยวไทย - เทศ ชมขบวนแห่ ’โคมล้านนาง’ ตื่นตากับวัฒนธรรมไทย ในงานประพณียี่เป็งเชียงใหม่

เชียงใหม่ - นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติแน่นประตูท่าแพชมขบวนแห่โคมล้านนาในงานประพณียี่เป็งเชียงใหม่ พร้อมการจัดแสดงประติมากรรมโคมไฟและการประกวดโคมแขวน ขณะที่ริมแม่น้ำปิงคนคึกคักลอยกระทง

 


TRENDING
© Copyright 2022, All rights reserved. North Time Thailand
Take Me Top